อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562

การปฏิสนธิ

การปฏิสนธิเป็นอย่างไร เกิดขึ้นตอนไหน ?


การปฏิสนธิ คือ กระบวนการที่เชื้ออสุจิของเพศชายเข้าผสมกับไข่ของเพศหญิง ซึ่งจะนำไปสู่การตั้งครรภ์ในภายหลัง โดยผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตรอาจสงสัยว่าการปฏิสนธินั้นมีกระบวนการอย่างไร และช่วงเวลาใดที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ การศึกษาข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยไขข้อข้องใจดังกล่าวได้ และยังมีคำแนะนำบางส่วนที่เกี่ยวกับการกระตุ้นให้เกิดการปฏิสนธิสำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่ที่อยากมีเจ้าตัวน้อยด้วย
1425 การปฏิสนธิ resized

ขั้นตอนการปฏิสนธิ
การปฏิสนธิมีกระบวนการดังต่อไปนี้
  • การตกไข่ ในแต่ละเดือนจะมีไข่หลายใบในรังไข่ของผู้หญิงที่ค่อย ๆ เจริญเติบโตในถุงน้ำฟอลลิเคิล (Follicles) และจะมีไข่เพียง 1 ใบเท่านั้นที่หลุดจากถุงน้ำหุ้มไข่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ซึ่งปกติแล้วกระบวนการตกไข่นั้นจะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนประมาณ 2 สัปดาห์
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน หลังจากไข่ตก ถุงน้ำหุ้มไข่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นคอร์ปัส ลูเทียม (Corpus Luteum) ซึ่งจะสร้างฮอร์โมนที่ช่วยให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนที่เกิดหลังการปฏิสนธิต่อไป
  • ไข่เคลื่อนเข้าสู่ท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิ หลังกระบวนการตกไข่ ไข่จะเดินทางเข้าสู่ท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิหรือสเปิร์มเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งกระบวนการนี้เกิดขึ้นหลังการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายประมาณ 2 สัปดาห์ แต่หากไม่มีการปฏิสนธิ ไข่จะเคลื่อนไปยังมดลูกและสลายตัวไปในที่สุด โดยระดับฮอร์โมนจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติและเกิดการหลุดลอกของผนังมดลูกออกมาเป็นประจำเดือน
  • การปฏิสนธิ จะเกิดขึ้นเมื่อสเปิร์มตัวที่แข็งแรงที่สุดว่ายไปยังท่อนำไข่และเจาะเปลือกไข่ได้ หลังจากการปฏิสนธิ ไข่จะแปรสภาพและทำให้สเปิร์มตัวอื่น ๆ ไม่สามารถเข้าไปได้อีก ซึ่งเพศของเด็กนั้นขึ้นอยู่กับโครโมโซมของสเปิร์มด้วย หากสเปิร์มมีโครโมโซมวาย (Y) เด็กจะเป็นเพศชาย และหากสเปิร์มมีโครโมโซมเอ็กซ์ (X) เด็กจะเป็นเพศหญิง
  • ระยะฝังตัว การแบ่งตัวของเซลล์จะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังการปฏิสนธิ ซึ่งไข่จะอยู่ในท่อนำไข่เป็นเวลาประมาณ 3-4 วัน และจะเคลื่อนตัวผ่านท่อนำไข่ไปยังมดลูกเพื่อยึดเกาะฝังตัวที่ผนังมดลูกซึ่งเป็นกระบวนการฝังตัวของไข่ และอาจทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดแบบกระปริดกระปรอยได้ ผนังมดลูกก็จะหนาขึ้นและจะมีมูกบริเวณปากช่องคลอดจนกว่าเด็กจะพร้อมคลอด ซึ่งเซลล์ต่าง ๆ จะค่อย ๆ เจริญเติบโตและแบ่งตัวมากขึ้น โดยเซลล์ประสาทของเด็กจะเริ่มพัฒนาขึ้นก่อนในช่วง 3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
หลังตัวอ่อนฝังตัวแล้ว ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) หรือฮอร์โมนตั้งครรภ์ขึ้น ซึ่งจะสามารถตรวจหาฮอร์โมนดังกล่าวได้ด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ในช่วงประมาณ 3-4 สัปดาห์หลังจากวันแรกของประจำเดือนรอบที่มาครั้งล่าสุด


ช่วงเวลาที่มีโอกาสเกิดการปฏิสนธิมากที่สุด
การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่มีการตกไข่เท่านั้น โดยใน 1 เดือนจะมีกระบวนการตกไข่เพียงแค่ครั้งเดียว ซึ่งหมายความว่าใน 1 เดือนมีโอกาสเพียงไม่กี่วันเท่านั้นที่ผู้หญิงจะตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์และวันที่ไข่ตกนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นวันเดียวกันถึงจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากสเปิร์มที่แข็งแรงสามารถมีชีวิตอยู่ในร่างกายของผู้หญิงได้นานกว่า 48-72 ชั่วโมง และไข่จะมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 12-24 ชั่วโมงหลังการตกไข่ โดยผู้ที่มีประจำเดือนมาปกติจะเกิดการตกไข่ 14 วันก่อนมีประจำเดือนครั้งต่อไป ซึ่งการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อสเปิร์มและไข่ผสมกันแทบจะทันทีหลังเกิดการตกไข่
วิธีการคำนวณระยะไข่ตก
ปกติแล้วกระบวนการตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณ 14 วันก่อนมีประจำเดือนครั้งต่อไป ซึ่งผู้ที่มีระยะห่างของรอบเดือน 28 วันสามารถคำนวณระยะไข่ตกได้จากการนับวันที่มีประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 โดยวันที่มีไข่ตกหรือมีโอกาสตั้งครรภ์สูงที่สุด คือ วันที่ 14 นับจากวันที่มีประจำเดือนมาเป็นวันแรก ส่วนวันที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูงสุดของผู้ที่มีรอบเดือนทุก ๆ 32 วัน คือ วันที่ 18 นับจากวันแรกของการมีประจำเดือน
อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้อาจไม่ค่อยแม่นยำนัก เนื่องจากแต่ละคนมีช่วงรอบเดือนที่แตกต่างกัน และภาวะไข่ตกไม่ได้เกิดหลังประจำเดือนมา 14 วันเสมอไป
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิ
นอกจากการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่มีการตกไข่แล้ว ฮอร์โมนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิสนธิด้วย โดยฮอร์โมนในร่างกายต้องมีความสมดุลและเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไข่ เพื่อให้กระบวนการตกไข่เป็นไปอย่างปกติ ต้องมีปริมาณสเปิร์มที่แข็งแรงเพียงพอที่จะว่ายไปหาไข่ได้ และต้องไม่มีอุปสรรคขวางกั้นการปฏิสนธิ เช่น ภาวะท่อนำไข่อุดตัน เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สเปิร์มไม่สามารถผสมกับไข่ได้
กระตุ้นการปฏิสนธิด้วยวิธีธรรมชาติ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างต่อไปนี้ อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ภาวะอ้วนหรือผอมเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิสนธิได้ โดยผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 19 อาจมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติถึง 4 เท่า ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกินอาจเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมีประจำเดือนได้ นอกจากนี้ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตจากเซลล์ไขมันอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการตกไข่ได้เช่นกัน ดังนั้น ควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยวิธี เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารบำรุงร่างกาย ควรดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้พร้อมก่อนการแผนตั้งครรภ์ด้วยการรับประทานที่มีประโยชน์ เช่น เลือกรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสีน้อย ผัก และผลไม้หลากสีเป็นประจำทุกวัน เป็นต้น นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและไขมันทรานส์สูง แต่เลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 แทน เช่น ปลาแซลมอน และไข่ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรเลือกบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกวัน
  • รับประทานอาหารเสริม เมื่อวางแผนจะมีบุตร อาจเริ่มรับประทานวิตามินรวมหรือวิตามินเตรียมตั้งครรภ์ที่มีส่วนผสมของกรดโฟลิค โดยในระยะแรกของการตั้งครรภ์นั้น หลอดประสาทของตัวอ่อนจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ซึ่งการรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของกรดโฟลิคจะช่วยลดความเสี่ยงภาวะพิการแต่กำเนิดได้ ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมใด ๆ เสมอ
  • จัดการความเครียด ภาวะเครียดอาจส่งผลให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) สูง ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ความเครียดยังมีผลต่อความสัมพันธ์ของคู่รักได้อีกด้วย ดังนั้น เมื่อเกิดความเครียดจึงควรทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิหรือเล่นโยคะ เป็นต้น แต่หากเครียดรุนแรงสะสมเป็นเวลานาน อาจต้องไปปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์
  • จำกัดปริมาณการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ แม้จะยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการดื่มคาเฟอีนจะส่งผลกระทบต่อการปฏิสนธิหรือไม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายแนะนำว่าควรจำกัดปริมาณการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนให้น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/วัน ส่วนการดื่มแอลกอฮอล์นั้น หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อการปฏิสนธิก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดเช่นกัน แต่การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากก็อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการตกไข่ ทำให้เกิดภาวะขาดประจำเดือน หรือเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติได้ นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์ยังส่งผลกระทบต่อระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนอีกด้วย ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ควรจำกัดปริมาณหรือเลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ไปก่อน
  • หยุดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่อาจส่งผลกระทบต่อการสืบพันธุ์ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งบุตร การท้องนอกมดลูก และการเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 ปี ส่วนผู้ชายก็ควรหยุดสูบบุหรี่เช่นกัน เนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้สเปิร์มไม่แข็งแรงและมีปริมาณน้อยลง ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์และมีบุตรที่มีสุขภาพแข็งแรง ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรสูบบุหรี่หรือควรเลิกสูบบุหรี่ด้วย 

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์

การสืบพันธุ์ของมนุษย์เกิดขึ้นแบบปฏิสนธิภายในโดยการร่วมเพศ ในกระบวนการดังกล่าวองคชาตของเพศชายจะสอดใส่ในช่องคลอดของเพศหญิงจนกระทั่งเพศชายหลั่งน้ำอสุจิซึ่งประกอบด้วยอสุจิประมาณ 70 ล้านตัวเข้าไปในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายจำนวนมากจะเคลื่อนที่ผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ หลังการปฏิสนธิและฝังตัวจะเกิดการตั้งครรภ์ของทารกในครรภ์ขึ้นภายในมดลูกของเพศหญิงซึ่งใช้เวลาประมาณ 9 เดือน การตั้งครรภ์จะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอด การคลอดนั้นต้องอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก การเปิดออกของปากมดลูก แล้วทารกจึงจะผ่านออกมาทางช่องคลอดได้ ทารกนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องอาศัยการดูแลจากผู้ปกครองเป็นเวลาหลายปี หนึ่งในการดูแลดังกล่าวคือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งต้องอาศัยต่อมน้ำนมที่อยู่ภายในเต้านมของเพศหญิง
           
ในมนุษย์มีการเจริญและพัฒนาของระบบสืบพันธุ์อย่างมากมาย นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกอวัยวะในระบบสืบพันธุ์แล้วนั้น ยังพบการเปลี่ยนแปลงอีกในลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิ (secondary sexual characteristics)
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
       ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะที่อยู่ภายนอกร่างกายและรอบๆ บริเวณเชิงกรานซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการสืบพันธุ์ หน้าที่หลักโดยตรงของระบบสืบพันธุ์เพศชายคือการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชายหรือสเปอร์มาโทซัว (spermatozoa) เพื่อใช้ผสมพันธุ์กับไข่

       อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือการสร้างและเก็บตัวอสุจิ การสร้างตัวอสุจิเกิดขึ้นภายในอัณฑะที่อยู่ภายในถุงอัณฑะซึ่งช่วยควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม อสุจิที่ยังไม่เจริญเต็มที่จะเคลื่อนที่ไปยังเอพิดิไดมิส (epididymis) เพื่อพัฒนาและกักเก็บ อวัยวะในกลุ่มที่สองคือต่อมสร้างของเหลวในการหลั่งน้ำอสุจิซึ่งได้แก่ถุงน้ำอสุจิ (seminal vesicles), ต่อมลูกหมาก (prostate) และหลอดนำอสุจิ (vas deferens) และในกลุ่มสุดท้ายคืออวัยวะที่ใช้ในการร่วมเพศและหลั่งน้ำอสุจิในเพศหญิงได้แก่องคชาต ท่อปัสสาวะ หลอดนำอสุจิ และต่อมคาวเปอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายนอก

        


         ลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิในเพศชายได้แก่ การมีร่างกายสูงใหญ่ โครงร่างกายมีกล้ามเนื้อมากขึ้น เสียงห้าวทุ้ม มีขนตามใบหน้าและลำตัว ไหล่กว้างขึ้น การเจริญของลูกกระเดือกฮอร์โมนที่สำคัญในเพศชายคือแอนโดรเจนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทสโทสเตอโรน

                    

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

           ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วยอวัยวะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในร่างกายและรอบๆ บริเวณเชิงกรานซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการสืบพันธุ์ ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ช่องคลอดทำหน้าที่รองรับอสุจิจากเพศชาย, มดลูกซึ่งช่วยรองรับทารกในครรภ์ และรังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่ เต้านมก็เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในระยะการดูแลทารก
          
ช่องคลอดจะเปิดออกภายนอกที่โยนีซึ่งประกอบด้วยแคม คลิตอริส และท่อปัสสาวะ ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์บริเวณเหล่านี้จะหล่อลื่นด้วยเมือกซึ่งคัดหลังจากต่อมบาร์โธลีน (Bartholin's glands) ช่องคลอดต่อเนื่องกับมดลูกโดยมีปากมดลูกอยู่ระหว่างกลาง ในขณะที่มดลูกต่อเนื่องกับรังไข่ผ่านทางท่อนำไข่ ในทุกๆ ช่วงรอบประมาณ 28 วันรังไข่จะปล่อยไข่ออกมาผ่านท่อนำไข่เข้าไปยังมดลูก เยื่อบุมดลูกซึ่งดาดอยู่ด้านในมดลูกและไข่ที่ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิจะไหลออกและถูกกำจัดออกไปทุกรอบเดือน ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า การมีประจำเดือน (menstruation)
         ลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิในเพศหญิงได้แก่ การมีร่างกายเล็กกว่าเพศชาย ร่างกายมีร้อยละของไขมันสูง สะโพกกว้างขึ้น การเจริญของต่อมน้ำนมและเต้านมขยายขนาด ฮอร์โมนเพศที่สำคัญในเพศหญิงคือเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน

Physiology Reproductive female





วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วิตามินเอ

วิตามินเอ (Vitamin A) 

ประวัติวิตามินเอ      

วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันชนิดแรกที่พบในปี พ.ศ.2455 โดย Hopkins พบว่า หนูที่ เลี้ยงด้วยอาหารบริสุทธิ์เติบโตช้า ถ้าเติมนมลงไปเล็กน้อยจะเติบโตเป็นปกติ ในเวลาใกล้เคียงกัน Osborne and Mendel ได้ท าการทดลองเช่นเดียวกัน แล้วพบว่า ถ้าเลี้ยงหนูด้วยอาหารบริสุทธิ์ร่วมกับ ไขมันพืชหรือน้ ามันหมู หนูจะไม่เจริญเติบโตและนัยน์ตาแห้งอักเสบ แต่ถ้าใช้น้ ามันตับปลา ไขมันจากไข่ แดงหรือเนยจะท าให้หนูเจริญเติบโตได้ดี โรคจากนัยน์ตาหายเป็นปกติ ต่อมาในปี พ.ศ.2458 MC.Collum and Davis ได้สกัดสารจากเนยและไข่แดงที่ช่วยให้หนูเติบโต และรักษาโรคนัยน์ตาอักเสบ(xeropthalmia) ได้จึงตั้งชื่อว่า fat-soluble A ต่อมาได้มีการค้นพบสารสีเหลืองที่มีชื่อว่า แคโรทีน ซึ่ง เป็นสารแรกเริ่มของวิตามินเอ ในปี พ.ศ. 2474 Karrer ได้แยกเรตินอลได้เป็นครั้งแรก และในปี        พ.ศ.2489 Milas สังเคราะห์เรตินอลได้เป็นครั้งแรก

สมบัติของวิตามินเอ

1. เป็นสารที่ไม่ละลายในน้ าแต่ละลายในตัวทำละลายไขมัน
2. วิตามินเอบริสุทธิ์เป็นสารประกอบที่มีผลึกสีเหลืองซีด ส่วนแคโรทีนมีผลึกสีแดงเข้ม
3. ถูกทำลายได้ง่ายด้วยแสงแดด แสงอัลตราไวโอเลตและไขมันที่เหม็นหืน
4. ทนต่อสภาวะกรด-ด่างได้ดี
5. ในการทำอาหารที่ใช้ความร้อนสูง เช่น อาหารกระป๋อง วิตามินเอจะถูกทำลายเพียงเล็กน้อย 
6. วิตามินเอคงตัวมากกว่าแคโรทีน


ประเภทของวิตามินเอ 

   วิตามินเอมีชื่อทางเคมีว่า axerophthol ที่มาจากภาษากรีก แปลว่า ตาไม่แห้ง       
วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) ซึ่งมี 3 รูปแบบ คือ
1.1 รูปที่เป็นแอลกอฮอล์ คือ เรตินอล ( retinol)

ภาพที่ 1 โครงสร้างทางเคมีของวิตามินเอรูปแบบRetinol
1.2 รูปที่เป็นแอลดีไฮด์ คือ เรทินัล (retinal)



ภาพที่ 2 โครงสร้างทางเคมีของวิตามินเอรูปแบบRetinal
1.3 รูปที่เป็นกรด คือ กรดเรทิโนอิก ( retinoic acid ) 



ภาพที่ 3 โครงสร้างทางเคมีของวิตามินเอรูปแบบRetinoic acid
           
       เราจะพบวิตามินเอในอาหารในรูปเอสเทอร์ของเรตินอล (retinol ester)

2. กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือที่เรียกว่า แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็นรงควัตถุใน พืช และเป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ แคโรทินอยด์ประกอบด้วยแคโรทีน (carotene) ชนิดแอลฟา ( α ) , เบต้า (β ) และแกมมา ( γ ) โดยมีปริมาณของชนิด เบต้า (β ) มาก
ที่สุด


ภาพที่ 4 โครงสร้างทางเคมีของวิตามินเอรูปแบบβ – carotene

บทบาทหน้าที่ของวิตามินเอ   

วิตามินเอมีบทบาทหน้าที่สำคัญในร่างกาย ดังนี้
   1.วิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการสร้างกระดูกและฟันรวมทั้งช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต การพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตั้งแต่ระยะเป็นทารก วิตามินเอช่วยใน cell differentiation การสร้าง อวัยวะ (organogenesis) การเจริญเติบโตและการเติบโตเต็มที่ของอวัยวะต่างๆ
    2.จำเป็นส าหรับสุขภาพของผิวหนัง และเยื่อบุผิวที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น ที่ผิวหนังบริเวณ ขุมขน เยื่อบุผิวของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ เยื่อบุนัยน์ตา ระบบขับถ่าย และระบบสืบพันธุ์ วิตามิน เอยังมีผลต่อการสร้างส่วนประกอบของเมือก (mucus) เช่น พวกมิวโคโปรตีน และมิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ ท าให้เยื่อบุผิวมีความแข็งแรง มีความต้านทานโรคและแบคทีเรีย ท าให้วิตามินเอได้ชื่อว่าเป็นสารต้านการ ติดเชื้อ (antiinfection)
   3.มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการมอง เห็นในที่มืด หรือที่มีแสงสลัวๆ ซึ่งการมองเห็นภาพต้องอาศัย     เรตินา (retina ซง่ึประกอบด้วยตัวรับแสง (light receptor หรือ photoreceptor) 2 ชนิด คือ
         ก.  เซลล์รูปแท่ง (rod) เป็นตัวรับแสงเพื่อให้มองเห็นในที่สลัวหรือมีแสงน้อย ในเซลล์รูปแท่งมี สารสีที่มีความไวต่อแสงเรียกว่า โรดอพซิน (rhodopsin หรือ visual purple)
        ข.  เซลล์รูปกรวย (cone) เป็นตัวรับแสงเพื่อให้มองเห็นในที่สว่างและมองเห็นภาพสี และในเซลล์ รูปกรวยมีสารสี เรียกว่า ไอโอดอพซิน (iodopsin หรือ visual violet)      สารสีเหล่านี้มีวิตามินเอแอลดีไฮด์ หรือเรตินาลเป็นองค์ประกอบอยู่ในโมเลกุลรวมกับโปรตีน เมื่อ แสงกระทบกับสารสีโรดอพซิน จะสลายตัวแยกเป็นเรตินาลและโปรตีน      ในคนปกติอัตราการสลายและการสังเคราะห์โรดอพซินเกิดขึ้นเท่าๆ กัน เพราะเรตินาได้รับ วิตามินเอจากกระแสเลือดอยู่ตลอดเวลา ท าให้มองเห็นได้อย่างปกติ
     4.วิตามินเอจ าเป็นต่อการท างานของระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะการสร้างน้ าเชื้อตัวผู้ (spermatogenesis) ในผู้ชาย และวงจรการตกไข่ (estrus cycle) ในผู้หญิง และเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ของตัวอ่อนด้วย
      5.เบต้า-แคโรทีน ช่วยต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (antioxidation) เบต้า-แคโรทีน จะคอยก าจัด อนุมูลอิสระ (free radicals) ก่อนที่จะไปท าลายส่วนต่างๆของเซลล์ จนท าให้เกิดริ้วรอยแก่ก่อนวัย การดูดซึมและเมตาบอลิซึมของวิตามินเอในร่างกาย      วิตามินเอที่ได้รับจากอาหารอาจอยู่ในรูปเรตินอล, เรตินิลเอสเทอร์หรือ เบต้า-แคโรทีน เรตินอลที่ เข้าสู่ร่างกาย เมื่อถึงล าไส้เล็กจะรวมตัวกันเป็นไมเซลล์ แล้วถูกดูดซึมเข้าสู้ผนังล าไส้เล็ก ส่วนเรตินอลเอส เทอร์จะต้องเปลี่ยนไปเป็นเรตินอลก่อน โดยเอ็นไซม์พวกไฮโดรเลส (hydrolase) ที่มากับน้ าย่อยจากตับ อ่อน ส าหรับ เบต้า-แคโรทีน ขั้นแรกจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเรตินาล (retinal) โดยเอ็นไซม์พวกออกซิเจเนส (oxygenase) ของเยื่อบุผิวล าไส้ หลังจากนั้นเอ็นไซม์อัลดีไฮด์รีดัคเทส (aldehyde reductase) จะช่วย เปลี่ยนเรตินาลให้เป็นเรตินอลต่อไป
 

การย่อยและการดูดซึม

เรตินอลต้องอาศัยน้ำดี และน้ าหลั่งจากตับอ่อน แต่ในปัจจุบันได้มี การศึกษาและรายงานว่าการย่อยสลายเรตินอลเอสเทอร์ไม่จ าเป็นต้องอาศัยน้ าหลั่งจากตับอ่อน(อีกชื่อ เรียกว่า cholesterol ester hydrolse) ซึ่งจะไปย่อยเรตินอลเอสเทอร์ที่มีไขมันโซ่สั้น ส่วนเอนไซม์ที่อยู่ ภายใน BBM จะท าหน้าที่ย่อยเรตินอลเอสเทอร์ที่มีกรดไขมันโซ่ยาว เรตินอลเอสเทอร์ในอาหารที่ร่างกาย ได้รับเข้าสู่ร่างกายพร้อมกับอาหารไขมันและจะเปลี่ยนไปเป็นเรตินอลที่ผนังล าไส้ หลังจากนั้นก็จะ esterified กับกรดปาล์มติกก่อนจะรวมกับไคโลไมครอน การดูดซึม preform ของวิตามินเอ ในอาหารส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาพของเรตินอลเอสเธอร์ของ กรดไขมันโซ่ยาว วิตามินเอในร่างกายส่วนใหญ่ได้จากสารตั้งต้นที่มาจาก provitamin A คือพวกแคโรตีนอยด์ เรตินอลเอสเธอร์จะถูกย่อยสลายด้วยไลเพสและเอสเธอเรสจากตับอ่อนที่ล าไส้เล็ก การย่อย และการดูดซึมเรตินอลต้องอาศัยน้ าดี และน้ าหลั่งจากตับอ่อน ในปัจจุบันได้มีการศึกษาและรายงานว่า การย่อยสลายเรตินอลเอสเธอร์ไม่จ าเป็นน้ าหลั่งจากตับอ่อน แต่ใช้เอนไซม์ที่อยู่บน brush border membrane (BBM) ได้แก่ ไลเพสจากตับอ่อน (อีกชื่อเรียกว่า cholesterol ester hydrolase) ซึ่งจะไป ย่อยเรตินอลเอสเธอร์ที่มีไขมันโซ่สั้น ส่วนเอนไซม์ที่อยู่ภายใน BBM จะท าหน้าที่ย่อยเรตินอลเอสเธอร์ที่มี กรดไขมันโซ่ยาว   เรตินอลเอสเธอร์ในอาหารที่ร่างกายได้รับเข้าไปจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเรตินอลในล าไส้ ก่อนที่จะถูกดูดซึมต่อไป แคโรทีนจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายพร้อมกับอาหารไขมันและจะเปลี่ยนไปเป็นเรติ นอลที่ผนังลำไส้ หลังจากนั้นก็จะ esterified กับกรดปาล์มิติค (palmitic acid) ก่อนจะรวมกับไคโล ไมครอน กลไกในการ esterified เรตินอลต้องอาศัยเอนไซม์ที่มีอยู่ภายในเซลล์ของล าไส้ตรงส่วน เจจูนั่ม  2 ชนิด คือ Acyl CoA:retinol acyltransferase (ARAT) และ lecithin:retinol acyltransferase (LRAT) เอนไซม์ LRAT นี้จะ esterified retinol ที่จับอยู่กับ retinol binding protein II (RBP) ส่วน ARAT จะ esterified แต่เฉพาะ retinol เสรีเท่านั้น เมื่อเรตินอลถูก esterified เป็นเรตินอลเอสเธอร์ แล้วจะเข้ารวมกับไคโลไมครอนเข้าสู่ท่อน้ าเหลือง เข้าระบบไหลเวียน และไปยังตับเพื่อเมตาบอไลส์และ เก็บสำรองไว้ Dietary source     
               วิตามินเอที่มีมากเกินความต้องการจะนำไปเก็บสะสมในตับในรูปของเอสเทอร์ของเรทินอล เมื่อร่างกายจำเป็นต้องใช้จะมีการนำออกจากตับและขนส่งไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ โดยโปรตีน   retinal binding- protein ( RBP) ซึ่งสารจากตับRBP จะรวมตัวกับโปรตีนพรีอัลบูมิน Prealbumin อีกที หนึ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามินเอและ RBP ทางไตออกไปกับปัสสาวะ ดังนั้น หากเป็นโรคเกี่ยวกับตับ อาจจะมีผลท าให้ระดับวิตามินเอและRBPต่ำลงได้ ปริมาณที่แนะนำให้รับประทาน    ความต้องการวิตามินเอขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ซึ่งมีความแตกต่างกันในน้ าหนักตัว ความต้องการ วิตามินเอให้เพียงพอของแต่ละบุคคล หมายถึง การบริโภคอาหารที่มีวิตามินเอในรูปเรตินอล ซึ่งคิดหน่วย เป็นไมโครกรัมเรตินอลอีควิวาเลนต์     วิตามินเอที่ควรบริโภคควรมีสัดส่วนของวิตามินเอจากเนื้อสัตว์มากกว่า ประมาณร้อยละ 90    แคโรทีนอยด์จากพืช ประมาณร้อยละ 10 และเป็นอาหารที่มีไขมันพอสมควร ประมาณ 5-10 กรัม     ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันสำหรับแต่ละเพศและแต่ละวัย รวบรวมไว้ในตาราง ข้างล่างนี้คือ

ตารางที่ 1 ปริมาณวิตามินเอของบุคคลแต่ละวัยที่ควรได้รับในแต่ละวัน


ที่มา : https://www.pharmacy.mahidol.ac.th.

       ผู้ใหญ่ หากมีอาการขาดวิตามินเอรุนแรงร่วมกับกระจกตาผิดปกติ ควรรับประทาน 500,000 หน่วยต่อวัน ติดต่อกัน 3 วัน จากนั้นปรับลดปริมาณเป็น 50,000 หน่วยต่อวัน ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ และ
ปรับลดลงเป็น 10,000-20,000 หน่วยต่อวัน ติดต่อกัน 2 เดือน               ผู้ใหญ่ หากมีอาการกระจกตาผิดปกติ ควรรับประทาน 10,000-25,000 หน่วยต่อวันจนหาย เป็นปกติ โดยทั่วไปมักใช้เวลา 1-2 สัปดาห์    เด็ก หากมีอาการเยื่อตาแห้ง ควรรับประทาน 5,000 หน่วยต่อน้ าหนัก 1 กิโลกรัม ติดต่อกัน   
5 วัน หรือจนหายเป็นปกติ แหล่งอาหารของวิตามินเอ    ส่วนใหญ่วิตามินเอจะอยู่ในผักผลไม้ที่มีสีส้มหรือสีเหลือง ได้แก่ แครอท มะละกอ ฟักทอง มะม่วง ส้ม ขนุน แคนตาลูป มันเทศ ลูกพลับ ทุเรียน เสาวรส ส่วนสารเบต้า-แคโรทีนยังพบได้ในผักผลไม้สีเข้ม แทบทุกชนิด เช่น พริกแดง มะเขือเทศ ต าลึง ฯลฯ ซึ่งเราสามารถกินทดแทนกันได้ แต่อาจจะได้รับสาร เบต้า-แคโรทีนไม่มากเท่าพืชผักในเฉดสีส้มเท่านั้นเอง การรับประทานเบต้า-แคโรทีนนั้น หากต้องการ รับประทานเพื่อบ ารุงสุขภาพ ป้องกันความเสื่อมถอยของร่างกาย เราควรรับประทานในรูปอาหาร แต่หาก ต้องการรับประทานเพื่อการรักษาภาวะความเสื่อมที่เป็นอยู่ ก็สามารถเลือกรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมได้ โดยควรให้อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด 1. ตัวอย่างอาหารและผักผลไม้บางชนิดที่ให้ปริมาณวิตามินเอแก่ร่างกาย (ตารางที่ 2) 2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร         
             โดยทั่วไป มีวางขาย 2 รูปคือ รูปที่สกัดจากน้ำมันตับปลาธรรมชาติ และ รูปที่กระจายตัวในน้ำ ซึ่งรูปนี้จะเป็นรูปของแอซิเทต หรือ ปาล์มนิเทตเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ควรรับประทานน้ำมัน โดยเฉพาะผู้ที่ เป็นสิวง่าย ขนาดที่แนะน าโดยทั่วไปคือ 5,000 – 10,000 ไอยู กรดวิตามินเอ แบบทา ซึ่งใช้ในการรักษา สิวเป็นหลัก และกำลังมีการทำตลาดเรื่องของการลดริ้วรอยในสหรัฐอเมริกา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตาม ใบสั่งแพทย์
ภาพที่ 5 ตัวอย่างอาหารเสริม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิตามินเอ
ที่มา: www.vitamintook.com

คำแนะนำ

1 หากรับประทานวิตามินอี มากกว่า 400 ไอยูทุกวัน ควรต้องรับประทานวิตามินเอ อย่างน้อย 10,000 ไอยู ด้วย
2 หากรับประทานยาคุมกำเนิดความต้องการวิตามินเอจะลดน้อยลงไป
3 หากรับประทานแครอท ตับ ผักขม มันเทศ หรือ แคนตาลูป ในปริมาณมากทุกสัปดาห์ คุณไม่น่าจะต้อง ทานวิตามินเอ เสริมอีก
4 ไม่ควรรับประทานวิตามินเอ ร่วมกับน้ ามันสกัดจากธรรมชาติ
5 วิตามินเอ ทำงานร่วมกับ วิตามินบีรวม วิตามินดี วิตามินอี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสังกะสี ได้ดีที่สุด ( ตับต้องการสังกะสีเป็นตัวช่วยน าวิตามินเออก มาใช้ )
6 หากคุณรับประทานยาลดคอเลสเตอรอล เช่น เควสแทรน ( คอเลสไทรามีน ) ร่างกายจะดูดซึมวิตามิน เอ ได้น้อยลง และอาจจะต้องรับประทานเสริม

ตารางที่ 2 ปริมาณวิตามินเอในอาหารและผักผลไม้บางชนิด

ที่มา : https://www.pharmacy.mahidol.ac.th.

 ผลของการได้รับวิตามินเอ

1. ผลจากการได้รับวิตามินเอน้อยเกิน      

     การขาดวิตามินเอมักเกิดขึ้นในคนที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี หรือ มีความผิดปกติในระบบการดูดซึม สารอาหาร หรือ คนที่เป็นโรคตับและตับอ่อน   ซึ่งเมื่อได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็จะก่อให้เกิดโรคดังนี้

1.1 อาการทางตามี 3 ระยะ ดังนี้

1.1.1 โรคตาบอดกลางคืน (night blindness) อาการเริ่มแรกจะมองเห็นได้ไม่ดีในขณะที่มี แสงสลัว แล้วถ้าหากยังจาดวิตามินเอต่อไปอีกเป็นระยะเวลานานก็จะท าให้เกิดภาวะ xerophthalmia ซึ่ง ท าให้เปลือกตาอักเสบ การท างานของต่อมน้ าตาเสีย ท าให้ไม่สามารถผลิตน้ าตา เป็นผลให้ผิวของลูกตา โดยเฉพาะส่วนของกระจกตา (cornea) แห้ง อักเสบ และบวม ซึ่งหากปล่อยไว้นานกว่านี้อีกก็จะท าให้ตา บอดได้

 ภาพที่ 6 ลักษณะการมองเห็นของผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดวิตามินเอ(ตาบอดกลางยคืน)
C:\Users\Super_Computer\AppData\Local\Packages\microsoft.microsoftedge_8wekyb3d8bbwe\AC\#!001\MicrosoftEdge\Cache\9SELOGCV\อาการโรคขาดวิตามินเอ[1].jpg

ที่มา https://www. medthai.com/โรคขาดวิตามินเอ.
     
1.1.2 ระยะตาแห้ง(Xerophthalmia) ต่อมาเยื่อตาขาวจะแห้ง เมื่อเป็นมากขึ้นเยื่อตาขาวจะ ย่นอยู่รอบ ๆ กระจกตาด าท าให้ดูคล้ายเกล็ดปลา และในขณะเดียวกันกระจกตาด าจะแห้งและไม่มี ประกาย ส่วนตาขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และบริเวณหางตาจะมีสารสีเทาหรือสีขาวท าให้เป็นจุดใหญ่ ๆ เรียกว่า         “เกล็ดกระดี่” หรือ “จุดบิทอตส์” (Bitot’s spot) ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนฟองโฟมมัน ๆ เล็ก ๆ หรือเป็นแผ่นสีขาวหนาตัวขึ้น โดยจุดที่เป็นเกล็ดกระดี่หรือจุดบิทอตส์นี้อาจเป็นที่ตาทั้งสองข้าง หรือเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ และเมื่อเอาผ้าเช็ดที่ตาอาจจะท าให้ตาหลุด

ภาพที่ 7 เกล็ดกระดี่ หรือ จุดบิทอตส์

C:\Users\Super_Computer\AppData\Local\Packages\microsoft.microsoftedge_8wekyb3d8bbwe\AC\#!001\MicrosoftEdge\Cache\C3Y0J3K8\โรคเกล็ดกระดี่ขึ้นตา[1].jpg

ที่มา https://www. medthai.com/โรคขาดวิตามินเอ.
   
1.1.3 ระยะตาอ่อน(Keratomalacia) เมื่อไม่ได้รับการรักษาอาการของผู้ป่วยจะเป็นมากขึ้น    ตาขาวจะเลี่ยนเป็นสีเทาแก่ เยื่อบุตาจะมีรอยย่นมากขึ้น กระจกตาจะเป็นฝ้าขาวและลูกตาจะอ่อนนุ่มจน กระจกตาเป็นแผลและเกิดรูทะลุ จึงท าให้มีเชื้อโรคเข้าไปในลูกตาได้และท าให้เกิดการอักเสบภายในลูกตา และตาบอดในที่สุด (บางทีถ้าอาการของโรครวดเร็วและรุนแรงมากก็อาจท าให้ตาบอดได้ใน 2-3 วัน)

ภาพที่ 8 โรคขาดวิตามินเอ ระยะสุดท้าย
 
C:\Users\Super_Computer\AppData\Local\Packages\microsoft.microsoftedge_8wekyb3d8bbwe\AC\#!001\MicrosoftEdge\Cache\Z9PAJ2V5\อาการของโรคขาดวิตามินเอ[1].jpg
ที่มา https://www. medthai.com/โรคขาดวิตามินเอ.


1.2 โรคผิวหนังและเยื่อบุอวัยวะต่างๆในร่างกาย

      ปกติเยื่อบุผิวจะมีสมบัติอ่อนนุ่ม ชุ่มชื้น และมีลักษณะเป็นมัน ซึ่งจะท าหน้าที่กีดขวางแบคทีเรียหรือเชื้อโรค ป้องกันไม่ให้เชื้อโรครุกรานผ่านเยื่อบุผิว ต่างๆเข้ามายังอวัยวะ แล้วถ้าขาดวิตามินเอเยื่อบุผิวจะแข็งและแห้ง (keratinzation) มีผลท าให้ติดเชื้อได้ ง่าย

ภาพที่ 9 โรคผิวหนังจากการขาดวิตามินเอ

http://www.thaidentoz.com/images/ผิวลอก.jpg

ที่มา http://www.thaidentoz.com.


1.3 อาการกระดูกผิดรูป 

     ซึ่งถ้าได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอ กระดูกจะหยุดโตก่อนเนื้อเยื่ออื่นๆ ส่งผลให้ร่างกายไม่เติบโต กระดูกหนาและใหญ่เสียรูปเกิดการโค้งงอ โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะท าให้ เนื้อเยื่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางเบียดกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ประสาทตาถูกบีบจนตาบอดหรือหู หนวก และเป็นอัมพาตของแขนขาได้

1.4 อาการฟันผุ 

     เนื่องจากฟันเกิดการหลุดลอกของสารเคลือบฟันเหลือแต่เนื้อฟันท าให้ฟันมีอาการผุได้ง่าย

ภาพที่ 10 อาการฟันผุ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟันผุคนแก่

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com.

1.5 มะเร็ง

      ในการทดลองท าให้พบว่าปริมาณของวิตามินเอในรูปของ เบต้า-แคโรทีน มีผลกับ มะเร็ง ซึ่งหากผู้ที่ขาดวิตามินเอในรูปนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตด้วยมะเร็งสูงกว่าผู้ที่ได้รับอย่างเพียงพอกับ ความต้องการของร่างกาย และอัตราการเป็นมะเร็งจะต่ ากว่า

2. ผลจากการรับวิตามินเอมากเกินไป    

 สามารถเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ

2.1 การได้รับวิตามินเอแบบเฉียบพลัน

      เกิดจากการได้รับวิตามินเอจากการกินครั้งเดียวในปริมาณมากกว่า 1 ล้านหน่วย ท าให้เกิดอาการ คือปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ง่วงนอนอ่อนเพลีย และมองเห็นภาพซ้อนกัน

2.2 การได้รับวิตามินเอแบบเรื้อรัง 

      เกิดจากได้รับวิตามินเอวันละประมาณแสนหน่วยเป็นเวลานาน ติดต่อกัน มักพบในคนไข้โรคผิวหนังที่ได้รับการรักษาด้วยวิตามินเอจำนวนมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาการที่ปรากฏ คือ เวียนศีรษะ ผิวหนังแห้งหยาบ คัน เป็นขุย ผมร่วง ริมฝีปากแตก ปวดตรงกระดูก และ ข้อต่อ     
      ในการบริโภคอาหารที่มีแคโรทีนสูงไม่ท าให้เกิดโทษแก่ร่างกาย แต่จะให้มีแคโรทีนในเลือดสูง หรือที่เรียกว่า แคโรทีนีเมีย (carotenemia)  ทำให้ตัวเหลืองแต่นัยน์ตาไม่เหลืองผิดกับโรคดีซ่าน โดยทั่วไปไม่มีอันตรายอย่างอื่นเมื่อหยุดกินแคโรทีน อาการตัวเหลืองจะหายไปเอง



บรรณานุกรรม

      พัชรี บุญศิริ, เปรมใจ อารีจิตรานุสสรณ์, อุบล ชาอ่อน, ปีติ ธุวจิตต์, บรรณาธิการ. ต ารา ชีวเคมี. พิมพ์ครั้งที่5. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2550. รูปที่ 9.14 โครงสร้างทางเคมี ของวิตามินเอ รูปแบบต่างๆ (ก) เรทินอล (ข) เรทินัล (ค) กรดเรทิโนอิก (ง) บีตาแคโรทีน; น. 150.

http://www.bangkokbiznews.com.

https://www.pharmacy.mahidol.ac.th.

https://www. medthai.com/โรคขาดวิตามินเอ.

http://www.thaidentoz.com.

www.vitamintook.com