อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วิตามินเอ

วิตามินเอ (Vitamin A) 

ประวัติวิตามินเอ      

วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันชนิดแรกที่พบในปี พ.ศ.2455 โดย Hopkins พบว่า หนูที่ เลี้ยงด้วยอาหารบริสุทธิ์เติบโตช้า ถ้าเติมนมลงไปเล็กน้อยจะเติบโตเป็นปกติ ในเวลาใกล้เคียงกัน Osborne and Mendel ได้ท าการทดลองเช่นเดียวกัน แล้วพบว่า ถ้าเลี้ยงหนูด้วยอาหารบริสุทธิ์ร่วมกับ ไขมันพืชหรือน้ ามันหมู หนูจะไม่เจริญเติบโตและนัยน์ตาแห้งอักเสบ แต่ถ้าใช้น้ ามันตับปลา ไขมันจากไข่ แดงหรือเนยจะท าให้หนูเจริญเติบโตได้ดี โรคจากนัยน์ตาหายเป็นปกติ ต่อมาในปี พ.ศ.2458 MC.Collum and Davis ได้สกัดสารจากเนยและไข่แดงที่ช่วยให้หนูเติบโต และรักษาโรคนัยน์ตาอักเสบ(xeropthalmia) ได้จึงตั้งชื่อว่า fat-soluble A ต่อมาได้มีการค้นพบสารสีเหลืองที่มีชื่อว่า แคโรทีน ซึ่ง เป็นสารแรกเริ่มของวิตามินเอ ในปี พ.ศ. 2474 Karrer ได้แยกเรตินอลได้เป็นครั้งแรก และในปี        พ.ศ.2489 Milas สังเคราะห์เรตินอลได้เป็นครั้งแรก

สมบัติของวิตามินเอ

1. เป็นสารที่ไม่ละลายในน้ าแต่ละลายในตัวทำละลายไขมัน
2. วิตามินเอบริสุทธิ์เป็นสารประกอบที่มีผลึกสีเหลืองซีด ส่วนแคโรทีนมีผลึกสีแดงเข้ม
3. ถูกทำลายได้ง่ายด้วยแสงแดด แสงอัลตราไวโอเลตและไขมันที่เหม็นหืน
4. ทนต่อสภาวะกรด-ด่างได้ดี
5. ในการทำอาหารที่ใช้ความร้อนสูง เช่น อาหารกระป๋อง วิตามินเอจะถูกทำลายเพียงเล็กน้อย 
6. วิตามินเอคงตัวมากกว่าแคโรทีน


ประเภทของวิตามินเอ 

   วิตามินเอมีชื่อทางเคมีว่า axerophthol ที่มาจากภาษากรีก แปลว่า ตาไม่แห้ง       
วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) ซึ่งมี 3 รูปแบบ คือ
1.1 รูปที่เป็นแอลกอฮอล์ คือ เรตินอล ( retinol)

ภาพที่ 1 โครงสร้างทางเคมีของวิตามินเอรูปแบบRetinol
1.2 รูปที่เป็นแอลดีไฮด์ คือ เรทินัล (retinal)



ภาพที่ 2 โครงสร้างทางเคมีของวิตามินเอรูปแบบRetinal
1.3 รูปที่เป็นกรด คือ กรดเรทิโนอิก ( retinoic acid ) 



ภาพที่ 3 โครงสร้างทางเคมีของวิตามินเอรูปแบบRetinoic acid
           
       เราจะพบวิตามินเอในอาหารในรูปเอสเทอร์ของเรตินอล (retinol ester)

2. กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือที่เรียกว่า แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็นรงควัตถุใน พืช และเป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ แคโรทินอยด์ประกอบด้วยแคโรทีน (carotene) ชนิดแอลฟา ( α ) , เบต้า (β ) และแกมมา ( γ ) โดยมีปริมาณของชนิด เบต้า (β ) มาก
ที่สุด


ภาพที่ 4 โครงสร้างทางเคมีของวิตามินเอรูปแบบβ – carotene

บทบาทหน้าที่ของวิตามินเอ   

วิตามินเอมีบทบาทหน้าที่สำคัญในร่างกาย ดังนี้
   1.วิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการสร้างกระดูกและฟันรวมทั้งช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต การพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตั้งแต่ระยะเป็นทารก วิตามินเอช่วยใน cell differentiation การสร้าง อวัยวะ (organogenesis) การเจริญเติบโตและการเติบโตเต็มที่ของอวัยวะต่างๆ
    2.จำเป็นส าหรับสุขภาพของผิวหนัง และเยื่อบุผิวที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น ที่ผิวหนังบริเวณ ขุมขน เยื่อบุผิวของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ เยื่อบุนัยน์ตา ระบบขับถ่าย และระบบสืบพันธุ์ วิตามิน เอยังมีผลต่อการสร้างส่วนประกอบของเมือก (mucus) เช่น พวกมิวโคโปรตีน และมิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ ท าให้เยื่อบุผิวมีความแข็งแรง มีความต้านทานโรคและแบคทีเรีย ท าให้วิตามินเอได้ชื่อว่าเป็นสารต้านการ ติดเชื้อ (antiinfection)
   3.มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการมอง เห็นในที่มืด หรือที่มีแสงสลัวๆ ซึ่งการมองเห็นภาพต้องอาศัย     เรตินา (retina ซง่ึประกอบด้วยตัวรับแสง (light receptor หรือ photoreceptor) 2 ชนิด คือ
         ก.  เซลล์รูปแท่ง (rod) เป็นตัวรับแสงเพื่อให้มองเห็นในที่สลัวหรือมีแสงน้อย ในเซลล์รูปแท่งมี สารสีที่มีความไวต่อแสงเรียกว่า โรดอพซิน (rhodopsin หรือ visual purple)
        ข.  เซลล์รูปกรวย (cone) เป็นตัวรับแสงเพื่อให้มองเห็นในที่สว่างและมองเห็นภาพสี และในเซลล์ รูปกรวยมีสารสี เรียกว่า ไอโอดอพซิน (iodopsin หรือ visual violet)      สารสีเหล่านี้มีวิตามินเอแอลดีไฮด์ หรือเรตินาลเป็นองค์ประกอบอยู่ในโมเลกุลรวมกับโปรตีน เมื่อ แสงกระทบกับสารสีโรดอพซิน จะสลายตัวแยกเป็นเรตินาลและโปรตีน      ในคนปกติอัตราการสลายและการสังเคราะห์โรดอพซินเกิดขึ้นเท่าๆ กัน เพราะเรตินาได้รับ วิตามินเอจากกระแสเลือดอยู่ตลอดเวลา ท าให้มองเห็นได้อย่างปกติ
     4.วิตามินเอจ าเป็นต่อการท างานของระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะการสร้างน้ าเชื้อตัวผู้ (spermatogenesis) ในผู้ชาย และวงจรการตกไข่ (estrus cycle) ในผู้หญิง และเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ของตัวอ่อนด้วย
      5.เบต้า-แคโรทีน ช่วยต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (antioxidation) เบต้า-แคโรทีน จะคอยก าจัด อนุมูลอิสระ (free radicals) ก่อนที่จะไปท าลายส่วนต่างๆของเซลล์ จนท าให้เกิดริ้วรอยแก่ก่อนวัย การดูดซึมและเมตาบอลิซึมของวิตามินเอในร่างกาย      วิตามินเอที่ได้รับจากอาหารอาจอยู่ในรูปเรตินอล, เรตินิลเอสเทอร์หรือ เบต้า-แคโรทีน เรตินอลที่ เข้าสู่ร่างกาย เมื่อถึงล าไส้เล็กจะรวมตัวกันเป็นไมเซลล์ แล้วถูกดูดซึมเข้าสู้ผนังล าไส้เล็ก ส่วนเรตินอลเอส เทอร์จะต้องเปลี่ยนไปเป็นเรตินอลก่อน โดยเอ็นไซม์พวกไฮโดรเลส (hydrolase) ที่มากับน้ าย่อยจากตับ อ่อน ส าหรับ เบต้า-แคโรทีน ขั้นแรกจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเรตินาล (retinal) โดยเอ็นไซม์พวกออกซิเจเนส (oxygenase) ของเยื่อบุผิวล าไส้ หลังจากนั้นเอ็นไซม์อัลดีไฮด์รีดัคเทส (aldehyde reductase) จะช่วย เปลี่ยนเรตินาลให้เป็นเรตินอลต่อไป
 

การย่อยและการดูดซึม

เรตินอลต้องอาศัยน้ำดี และน้ าหลั่งจากตับอ่อน แต่ในปัจจุบันได้มี การศึกษาและรายงานว่าการย่อยสลายเรตินอลเอสเทอร์ไม่จ าเป็นต้องอาศัยน้ าหลั่งจากตับอ่อน(อีกชื่อ เรียกว่า cholesterol ester hydrolse) ซึ่งจะไปย่อยเรตินอลเอสเทอร์ที่มีไขมันโซ่สั้น ส่วนเอนไซม์ที่อยู่ ภายใน BBM จะท าหน้าที่ย่อยเรตินอลเอสเทอร์ที่มีกรดไขมันโซ่ยาว เรตินอลเอสเทอร์ในอาหารที่ร่างกาย ได้รับเข้าสู่ร่างกายพร้อมกับอาหารไขมันและจะเปลี่ยนไปเป็นเรตินอลที่ผนังล าไส้ หลังจากนั้นก็จะ esterified กับกรดปาล์มติกก่อนจะรวมกับไคโลไมครอน การดูดซึม preform ของวิตามินเอ ในอาหารส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาพของเรตินอลเอสเธอร์ของ กรดไขมันโซ่ยาว วิตามินเอในร่างกายส่วนใหญ่ได้จากสารตั้งต้นที่มาจาก provitamin A คือพวกแคโรตีนอยด์ เรตินอลเอสเธอร์จะถูกย่อยสลายด้วยไลเพสและเอสเธอเรสจากตับอ่อนที่ล าไส้เล็ก การย่อย และการดูดซึมเรตินอลต้องอาศัยน้ าดี และน้ าหลั่งจากตับอ่อน ในปัจจุบันได้มีการศึกษาและรายงานว่า การย่อยสลายเรตินอลเอสเธอร์ไม่จ าเป็นน้ าหลั่งจากตับอ่อน แต่ใช้เอนไซม์ที่อยู่บน brush border membrane (BBM) ได้แก่ ไลเพสจากตับอ่อน (อีกชื่อเรียกว่า cholesterol ester hydrolase) ซึ่งจะไป ย่อยเรตินอลเอสเธอร์ที่มีไขมันโซ่สั้น ส่วนเอนไซม์ที่อยู่ภายใน BBM จะท าหน้าที่ย่อยเรตินอลเอสเธอร์ที่มี กรดไขมันโซ่ยาว   เรตินอลเอสเธอร์ในอาหารที่ร่างกายได้รับเข้าไปจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเรตินอลในล าไส้ ก่อนที่จะถูกดูดซึมต่อไป แคโรทีนจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายพร้อมกับอาหารไขมันและจะเปลี่ยนไปเป็นเรติ นอลที่ผนังลำไส้ หลังจากนั้นก็จะ esterified กับกรดปาล์มิติค (palmitic acid) ก่อนจะรวมกับไคโล ไมครอน กลไกในการ esterified เรตินอลต้องอาศัยเอนไซม์ที่มีอยู่ภายในเซลล์ของล าไส้ตรงส่วน เจจูนั่ม  2 ชนิด คือ Acyl CoA:retinol acyltransferase (ARAT) และ lecithin:retinol acyltransferase (LRAT) เอนไซม์ LRAT นี้จะ esterified retinol ที่จับอยู่กับ retinol binding protein II (RBP) ส่วน ARAT จะ esterified แต่เฉพาะ retinol เสรีเท่านั้น เมื่อเรตินอลถูก esterified เป็นเรตินอลเอสเธอร์ แล้วจะเข้ารวมกับไคโลไมครอนเข้าสู่ท่อน้ าเหลือง เข้าระบบไหลเวียน และไปยังตับเพื่อเมตาบอไลส์และ เก็บสำรองไว้ Dietary source     
               วิตามินเอที่มีมากเกินความต้องการจะนำไปเก็บสะสมในตับในรูปของเอสเทอร์ของเรทินอล เมื่อร่างกายจำเป็นต้องใช้จะมีการนำออกจากตับและขนส่งไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ โดยโปรตีน   retinal binding- protein ( RBP) ซึ่งสารจากตับRBP จะรวมตัวกับโปรตีนพรีอัลบูมิน Prealbumin อีกที หนึ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามินเอและ RBP ทางไตออกไปกับปัสสาวะ ดังนั้น หากเป็นโรคเกี่ยวกับตับ อาจจะมีผลท าให้ระดับวิตามินเอและRBPต่ำลงได้ ปริมาณที่แนะนำให้รับประทาน    ความต้องการวิตามินเอขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ซึ่งมีความแตกต่างกันในน้ าหนักตัว ความต้องการ วิตามินเอให้เพียงพอของแต่ละบุคคล หมายถึง การบริโภคอาหารที่มีวิตามินเอในรูปเรตินอล ซึ่งคิดหน่วย เป็นไมโครกรัมเรตินอลอีควิวาเลนต์     วิตามินเอที่ควรบริโภคควรมีสัดส่วนของวิตามินเอจากเนื้อสัตว์มากกว่า ประมาณร้อยละ 90    แคโรทีนอยด์จากพืช ประมาณร้อยละ 10 และเป็นอาหารที่มีไขมันพอสมควร ประมาณ 5-10 กรัม     ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันสำหรับแต่ละเพศและแต่ละวัย รวบรวมไว้ในตาราง ข้างล่างนี้คือ

ตารางที่ 1 ปริมาณวิตามินเอของบุคคลแต่ละวัยที่ควรได้รับในแต่ละวัน


ที่มา : https://www.pharmacy.mahidol.ac.th.

       ผู้ใหญ่ หากมีอาการขาดวิตามินเอรุนแรงร่วมกับกระจกตาผิดปกติ ควรรับประทาน 500,000 หน่วยต่อวัน ติดต่อกัน 3 วัน จากนั้นปรับลดปริมาณเป็น 50,000 หน่วยต่อวัน ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ และ
ปรับลดลงเป็น 10,000-20,000 หน่วยต่อวัน ติดต่อกัน 2 เดือน               ผู้ใหญ่ หากมีอาการกระจกตาผิดปกติ ควรรับประทาน 10,000-25,000 หน่วยต่อวันจนหาย เป็นปกติ โดยทั่วไปมักใช้เวลา 1-2 สัปดาห์    เด็ก หากมีอาการเยื่อตาแห้ง ควรรับประทาน 5,000 หน่วยต่อน้ าหนัก 1 กิโลกรัม ติดต่อกัน   
5 วัน หรือจนหายเป็นปกติ แหล่งอาหารของวิตามินเอ    ส่วนใหญ่วิตามินเอจะอยู่ในผักผลไม้ที่มีสีส้มหรือสีเหลือง ได้แก่ แครอท มะละกอ ฟักทอง มะม่วง ส้ม ขนุน แคนตาลูป มันเทศ ลูกพลับ ทุเรียน เสาวรส ส่วนสารเบต้า-แคโรทีนยังพบได้ในผักผลไม้สีเข้ม แทบทุกชนิด เช่น พริกแดง มะเขือเทศ ต าลึง ฯลฯ ซึ่งเราสามารถกินทดแทนกันได้ แต่อาจจะได้รับสาร เบต้า-แคโรทีนไม่มากเท่าพืชผักในเฉดสีส้มเท่านั้นเอง การรับประทานเบต้า-แคโรทีนนั้น หากต้องการ รับประทานเพื่อบ ารุงสุขภาพ ป้องกันความเสื่อมถอยของร่างกาย เราควรรับประทานในรูปอาหาร แต่หาก ต้องการรับประทานเพื่อการรักษาภาวะความเสื่อมที่เป็นอยู่ ก็สามารถเลือกรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมได้ โดยควรให้อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด 1. ตัวอย่างอาหารและผักผลไม้บางชนิดที่ให้ปริมาณวิตามินเอแก่ร่างกาย (ตารางที่ 2) 2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร         
             โดยทั่วไป มีวางขาย 2 รูปคือ รูปที่สกัดจากน้ำมันตับปลาธรรมชาติ และ รูปที่กระจายตัวในน้ำ ซึ่งรูปนี้จะเป็นรูปของแอซิเทต หรือ ปาล์มนิเทตเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ควรรับประทานน้ำมัน โดยเฉพาะผู้ที่ เป็นสิวง่าย ขนาดที่แนะน าโดยทั่วไปคือ 5,000 – 10,000 ไอยู กรดวิตามินเอ แบบทา ซึ่งใช้ในการรักษา สิวเป็นหลัก และกำลังมีการทำตลาดเรื่องของการลดริ้วรอยในสหรัฐอเมริกา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตาม ใบสั่งแพทย์
ภาพที่ 5 ตัวอย่างอาหารเสริม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิตามินเอ
ที่มา: www.vitamintook.com

คำแนะนำ

1 หากรับประทานวิตามินอี มากกว่า 400 ไอยูทุกวัน ควรต้องรับประทานวิตามินเอ อย่างน้อย 10,000 ไอยู ด้วย
2 หากรับประทานยาคุมกำเนิดความต้องการวิตามินเอจะลดน้อยลงไป
3 หากรับประทานแครอท ตับ ผักขม มันเทศ หรือ แคนตาลูป ในปริมาณมากทุกสัปดาห์ คุณไม่น่าจะต้อง ทานวิตามินเอ เสริมอีก
4 ไม่ควรรับประทานวิตามินเอ ร่วมกับน้ ามันสกัดจากธรรมชาติ
5 วิตามินเอ ทำงานร่วมกับ วิตามินบีรวม วิตามินดี วิตามินอี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสังกะสี ได้ดีที่สุด ( ตับต้องการสังกะสีเป็นตัวช่วยน าวิตามินเออก มาใช้ )
6 หากคุณรับประทานยาลดคอเลสเตอรอล เช่น เควสแทรน ( คอเลสไทรามีน ) ร่างกายจะดูดซึมวิตามิน เอ ได้น้อยลง และอาจจะต้องรับประทานเสริม

ตารางที่ 2 ปริมาณวิตามินเอในอาหารและผักผลไม้บางชนิด

ที่มา : https://www.pharmacy.mahidol.ac.th.

 ผลของการได้รับวิตามินเอ

1. ผลจากการได้รับวิตามินเอน้อยเกิน      

     การขาดวิตามินเอมักเกิดขึ้นในคนที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี หรือ มีความผิดปกติในระบบการดูดซึม สารอาหาร หรือ คนที่เป็นโรคตับและตับอ่อน   ซึ่งเมื่อได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็จะก่อให้เกิดโรคดังนี้

1.1 อาการทางตามี 3 ระยะ ดังนี้

1.1.1 โรคตาบอดกลางคืน (night blindness) อาการเริ่มแรกจะมองเห็นได้ไม่ดีในขณะที่มี แสงสลัว แล้วถ้าหากยังจาดวิตามินเอต่อไปอีกเป็นระยะเวลานานก็จะท าให้เกิดภาวะ xerophthalmia ซึ่ง ท าให้เปลือกตาอักเสบ การท างานของต่อมน้ าตาเสีย ท าให้ไม่สามารถผลิตน้ าตา เป็นผลให้ผิวของลูกตา โดยเฉพาะส่วนของกระจกตา (cornea) แห้ง อักเสบ และบวม ซึ่งหากปล่อยไว้นานกว่านี้อีกก็จะท าให้ตา บอดได้

 ภาพที่ 6 ลักษณะการมองเห็นของผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดวิตามินเอ(ตาบอดกลางยคืน)
C:\Users\Super_Computer\AppData\Local\Packages\microsoft.microsoftedge_8wekyb3d8bbwe\AC\#!001\MicrosoftEdge\Cache\9SELOGCV\อาการโรคขาดวิตามินเอ[1].jpg

ที่มา https://www. medthai.com/โรคขาดวิตามินเอ.
     
1.1.2 ระยะตาแห้ง(Xerophthalmia) ต่อมาเยื่อตาขาวจะแห้ง เมื่อเป็นมากขึ้นเยื่อตาขาวจะ ย่นอยู่รอบ ๆ กระจกตาด าท าให้ดูคล้ายเกล็ดปลา และในขณะเดียวกันกระจกตาด าจะแห้งและไม่มี ประกาย ส่วนตาขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และบริเวณหางตาจะมีสารสีเทาหรือสีขาวท าให้เป็นจุดใหญ่ ๆ เรียกว่า         “เกล็ดกระดี่” หรือ “จุดบิทอตส์” (Bitot’s spot) ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนฟองโฟมมัน ๆ เล็ก ๆ หรือเป็นแผ่นสีขาวหนาตัวขึ้น โดยจุดที่เป็นเกล็ดกระดี่หรือจุดบิทอตส์นี้อาจเป็นที่ตาทั้งสองข้าง หรือเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ และเมื่อเอาผ้าเช็ดที่ตาอาจจะท าให้ตาหลุด

ภาพที่ 7 เกล็ดกระดี่ หรือ จุดบิทอตส์

C:\Users\Super_Computer\AppData\Local\Packages\microsoft.microsoftedge_8wekyb3d8bbwe\AC\#!001\MicrosoftEdge\Cache\C3Y0J3K8\โรคเกล็ดกระดี่ขึ้นตา[1].jpg

ที่มา https://www. medthai.com/โรคขาดวิตามินเอ.
   
1.1.3 ระยะตาอ่อน(Keratomalacia) เมื่อไม่ได้รับการรักษาอาการของผู้ป่วยจะเป็นมากขึ้น    ตาขาวจะเลี่ยนเป็นสีเทาแก่ เยื่อบุตาจะมีรอยย่นมากขึ้น กระจกตาจะเป็นฝ้าขาวและลูกตาจะอ่อนนุ่มจน กระจกตาเป็นแผลและเกิดรูทะลุ จึงท าให้มีเชื้อโรคเข้าไปในลูกตาได้และท าให้เกิดการอักเสบภายในลูกตา และตาบอดในที่สุด (บางทีถ้าอาการของโรครวดเร็วและรุนแรงมากก็อาจท าให้ตาบอดได้ใน 2-3 วัน)

ภาพที่ 8 โรคขาดวิตามินเอ ระยะสุดท้าย
 
C:\Users\Super_Computer\AppData\Local\Packages\microsoft.microsoftedge_8wekyb3d8bbwe\AC\#!001\MicrosoftEdge\Cache\Z9PAJ2V5\อาการของโรคขาดวิตามินเอ[1].jpg
ที่มา https://www. medthai.com/โรคขาดวิตามินเอ.


1.2 โรคผิวหนังและเยื่อบุอวัยวะต่างๆในร่างกาย

      ปกติเยื่อบุผิวจะมีสมบัติอ่อนนุ่ม ชุ่มชื้น และมีลักษณะเป็นมัน ซึ่งจะท าหน้าที่กีดขวางแบคทีเรียหรือเชื้อโรค ป้องกันไม่ให้เชื้อโรครุกรานผ่านเยื่อบุผิว ต่างๆเข้ามายังอวัยวะ แล้วถ้าขาดวิตามินเอเยื่อบุผิวจะแข็งและแห้ง (keratinzation) มีผลท าให้ติดเชื้อได้ ง่าย

ภาพที่ 9 โรคผิวหนังจากการขาดวิตามินเอ

http://www.thaidentoz.com/images/ผิวลอก.jpg

ที่มา http://www.thaidentoz.com.


1.3 อาการกระดูกผิดรูป 

     ซึ่งถ้าได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอ กระดูกจะหยุดโตก่อนเนื้อเยื่ออื่นๆ ส่งผลให้ร่างกายไม่เติบโต กระดูกหนาและใหญ่เสียรูปเกิดการโค้งงอ โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะท าให้ เนื้อเยื่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางเบียดกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ประสาทตาถูกบีบจนตาบอดหรือหู หนวก และเป็นอัมพาตของแขนขาได้

1.4 อาการฟันผุ 

     เนื่องจากฟันเกิดการหลุดลอกของสารเคลือบฟันเหลือแต่เนื้อฟันท าให้ฟันมีอาการผุได้ง่าย

ภาพที่ 10 อาการฟันผุ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟันผุคนแก่

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com.

1.5 มะเร็ง

      ในการทดลองท าให้พบว่าปริมาณของวิตามินเอในรูปของ เบต้า-แคโรทีน มีผลกับ มะเร็ง ซึ่งหากผู้ที่ขาดวิตามินเอในรูปนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตด้วยมะเร็งสูงกว่าผู้ที่ได้รับอย่างเพียงพอกับ ความต้องการของร่างกาย และอัตราการเป็นมะเร็งจะต่ ากว่า

2. ผลจากการรับวิตามินเอมากเกินไป    

 สามารถเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ

2.1 การได้รับวิตามินเอแบบเฉียบพลัน

      เกิดจากการได้รับวิตามินเอจากการกินครั้งเดียวในปริมาณมากกว่า 1 ล้านหน่วย ท าให้เกิดอาการ คือปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ง่วงนอนอ่อนเพลีย และมองเห็นภาพซ้อนกัน

2.2 การได้รับวิตามินเอแบบเรื้อรัง 

      เกิดจากได้รับวิตามินเอวันละประมาณแสนหน่วยเป็นเวลานาน ติดต่อกัน มักพบในคนไข้โรคผิวหนังที่ได้รับการรักษาด้วยวิตามินเอจำนวนมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาการที่ปรากฏ คือ เวียนศีรษะ ผิวหนังแห้งหยาบ คัน เป็นขุย ผมร่วง ริมฝีปากแตก ปวดตรงกระดูก และ ข้อต่อ     
      ในการบริโภคอาหารที่มีแคโรทีนสูงไม่ท าให้เกิดโทษแก่ร่างกาย แต่จะให้มีแคโรทีนในเลือดสูง หรือที่เรียกว่า แคโรทีนีเมีย (carotenemia)  ทำให้ตัวเหลืองแต่นัยน์ตาไม่เหลืองผิดกับโรคดีซ่าน โดยทั่วไปไม่มีอันตรายอย่างอื่นเมื่อหยุดกินแคโรทีน อาการตัวเหลืองจะหายไปเอง



บรรณานุกรรม

      พัชรี บุญศิริ, เปรมใจ อารีจิตรานุสสรณ์, อุบล ชาอ่อน, ปีติ ธุวจิตต์, บรรณาธิการ. ต ารา ชีวเคมี. พิมพ์ครั้งที่5. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2550. รูปที่ 9.14 โครงสร้างทางเคมี ของวิตามินเอ รูปแบบต่างๆ (ก) เรทินอล (ข) เรทินัล (ค) กรดเรทิโนอิก (ง) บีตาแคโรทีน; น. 150.

http://www.bangkokbiznews.com.

https://www.pharmacy.mahidol.ac.th.

https://www. medthai.com/โรคขาดวิตามินเอ.

http://www.thaidentoz.com.

www.vitamintook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น